วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552


Gateway

Gateway เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น

Gateway เป็นประตูสื่อสาร ช่องทางสำหรับเชื่อมต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยทำให้ผู้ใช้บริการของคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือในข่ายงานหนึ่งสามารถติดต่อเข้าสู่เครื่องบริการหรือข่ายงานที่ต่างประเภทกันได้ ทั้งนี้โดยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "บริดจ์" (bridges) โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำให้การแปลข้อมูลที่จำเป็นให้ นอกจากในด้านของข่ายงาน เกตเวย์ยังเป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) สองข่ายงานที่มีลักษณะ ไม่เหมือนกันให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ หรือจะเป็นการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่เข้ากับข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) หรือต่อเข้ากับมินิคอมพิวเตอร์หรือต่อเข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากเกตเวย์มีไมโครโพรเซสเซอร์และหน่วยความจำของตนเอง
Gateway จะเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถมากที่สุดคือสามารถเครือข่ายต่างชนิดกันเข้าด้วยกันโดยสามารถเชื่อมต่อ LAN ที่มีหลายๆโปรโตคอลเข้าด้วยกันได้ และยังสามารถใช้สายส่งที่ต่างชนิดกัน ตัวgateway จะสามารถสร้างตาราง ซึ่งสารารถบอกได้ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไหนอยู่ภายใต้ gatewayตัวใดและจะสามารถปรับปรุงข้อมูลตามเวลาที่ตั้งเอาไว้

Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch

Gateway เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล หน้าที่หลักของเกตเวย์คือช่วยทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์2 เครือข่ายหรือมากกว่าที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน คือลักษณะของการเชื่อมต่อ( Connectivity ) ของเครือข่ายที่แตกต่างกัน และมีโปรโตคอลสำหรับการส่ง - รับ ข้อมูลต่างกัน เช่น LAN เครือหนึ่งเป็นแบบ Ethernet และใช้โปรโตคอลแบบอะซิงโครนัสส่วน LAN อีกเครือข่ายหนึ่งเป็นแบบ Token Ring และใช้โปรโตคอลแบบซิงโครนัสเพื่อให้สามารถติดต่อกันได้เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน เพื่อจำกัดวงให้แคบลงมา เกตเวย์โดยทั่วไปจะใช้เป็นเครื่องมือส่ง - รับข้อมูลกันระหว่างLAN 2เครือข่ายหรือLANกับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือระหว่าง LANกับ WANโดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะเช่น X.25แพ็คเกจสวิตซ์ เครือข่าย ISDN เทเล็กซ์ หรือเครือข่ายทางไกลอื่น ๆ



วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สื่อกลางในการส่งข้อมูล

สื่อกลางในการส่งข้อมูล

สื่อกลาง (Media) คือ ตัวกลางในการแลกเปลี่ยนที่ทำหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ไปยังจากผู้รับไปยังผู้ส่ง มี 2 แบบ
สื่อแบบใช้สาย(Guided media)
1.1 สายคู่บิดเกลียว
1.2 สายโคแอกเชียล
1.3 สายใยแก้วนำแสง

สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)
เป็นสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว ใช้กัน แพร่หลายในระบบโทรศัพท์ มีความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps และส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่บิดเกลียว มี 2 ประเภท คือ

สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted Pair; UTP)


สายคู่บิดเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted Pair; STP)

ข้อดี

1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่ายและมีน้ำหนักเบา

ข้อเสีย

1. ถูกรบกวนจากสัญญาณ ภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด

สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable)




มักเรียกสั้นๆ ว่าสายโคแอก ประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชิ้นหนึ่งด้วยฉนวน ใช้ในระบบโทรทัศน์ และวิทยุ


ข้อดี
มีประสิทธิภาพ และความต้านทานต่อการรบกวนสูง
สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่า สายส่งข้อมูลแบบ Twisted pair
สามารถส่งได้ทั้งเสียง สัญญาณวิดีโอ และข้อมูล

ข้อเสีย
ราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบ Twisted pair
ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมีราคาสูง กว่าสายส่งข้อมูลแบบ Twisted pair
จำกัดจำนวนของการเชื่อมต่อ
ระยะทางจำกัด




สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optical Cable)





ประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองนี้จะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่ง โดยที่ไม่ผ่านออกไปยังผิวด้านนอกของเส้นใยได้
ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งจำนวนมาก และในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 ไมล์


ข้อดี
ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า เหมาะกับสภาพแวดล้อม เช่น
โรงพยาบาล สถานีโทรทัศน์
ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูล 2 แบบแรก
ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง มากกว่าสายส่งข้อมูลแบบอื่น ๆ
มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง สูงกว่า 2 แบบแรก






สื่อแบบไร้สาย (Unaided media)



# คลื่นไมโครเวฟ
# คลื่นวิทยุ
# สัญญาณดาวเทียม
# อินฟาเรด
# Blue Tooth
# Wi-fi
# Wi-max


คลื่นไมโครเวฟ (Microwave)






การส่งคลื่นเป็นแบบเส้นสายตา (line of sight) สามารถส่งได้ไกล 20-30 ไมล์ ถ้าต้องการส่งให้ไกลกว่าต้องมี สถานีถ่ายทอดสัญญาณไมโครเวฟ (Microwave Relay Station)

ข้อดี
ไม่มีปัญหาเรื่องวางสายเคเบิล
นิยมใช้ในเครือข่ายไม่ไกลนัก
ราคาถูกกว่าเช่าสายใยแก้วของระบบโทรศัพท์

ข้อด้อย
การส่งสัญญาณถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากสภาพภูมิอากาศ
ค่าติดตั้งเสาและจานส่งมีราคาแพง



ระบบดาวเทียม (Satellite system)






ดาวเทียมสื่อสารทำงานได้ผล ดาวเทียมสื่อสารต้องเสมือนหยุดอยู่กับที่เมื่อเทียบกับตำแหน่งบนโลก กล่าวคือดาวเทียมจะต้องหมุนเท่ากันกับโลกหมุนรอบตัวเองในระยะความสูงจากพื้นโลก 35,00
กิโลเมตร เรียกว่า ดาวเทียมแบบวงโคจรสถิตย์ ดาวเทียมสองดวงใช้แถบความถี่เดียวกันอยู่ใกล้กันไม่ได้ คลื่นความถี่จะแทรกกัน จะต้องห่างกันมากกว่า 3-4 องศาซึ่งขึ้นกับย่านความถี่ในปัจจุบันได้มีการนำดาวเทียมแบบวงโคจรต่ำ (low earth orbiting satellite : LEOS) มาใช้งาน ดาวเทียมแบบนี้มีรัศมีวงโคจรเพียง 520-1,600 กิโลเมตรจากผิวโลก ใช้เวลาในการโคจรรอบโลกรอบหนึ่งเพียง 90 – 100 นาที ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า

การใช้ประโยชน์จากดาวเทียมในปัจจุบัน
1. การแพร่ภาพโทรทัศน์ โดยการส่งสัญญาณแบบ Broadcasting
2. โทรศัพท์ทางไกล ใช้เชื่อมโยงระหว่างชุมสายโทรศัพท์แบบจุดต่อจุด ซึ่งราคาถูกกว่าการเช่าสายใยแก้วนำแสง
3. เครือข่ายธุรกิจส่วนบุคคล (Private Business Networks)โดยใช้ระบบสถานีภาคพื้นดินขนาดเล็ก ที่เรียกว่า VSAT
(Very Small Aperture Terminal)

ข้อดี
ส่งสัญญาณไปทุกจุดของโลกได้
ค่าใช้จ่ายในการบริการไม่ขึ้นกับระยะทางที่ห่างจากสถานีบริการภาคพื้นดิน

ข้อเสีย
อาจถูกกระทบเพราะสภาพอากาศ
มีอัตราการหน่วงของข้อมูลจากเวลาจริง (Delay Time)
ค่าบริการสูง






แสงอินฟราเรด (Infrared)






หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คลื่นความถี่สั้น (Millimeter waves) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่อยู่ในระหว่างแสงที่ตามองเห็น ลำแสงอินฟราเรดเดินทางเป็นเส้นตรง ไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสง และสามารถสะท้อนแสงในวัสดุผิวเรียบได้เหมือนกับแสงทั่วไป ใช้มากในการสื่อสารระยะใกล้ เช่น รีโมทคอนโทรลของเครื่องรับโทรทัศน์ ปัจจุบันถูกพัฒนาใช้ในการสื่อสารไร้สายสำหรับเครือข่ายเฉพาะบริเวณ

ข้อดี
สร้างได้ง่าย ราคาถูก และมีความปลอดภัยในการส่งข้อมูลดีกว่าคลื่นวิทยุ
ข้อเสีย
ไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสงได้






คลื่นวิทยุ (Radio wave)



เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในแถบความถี่ตั้งแต่ 30 MHz - 1 GHz ต่างกับคลื่นไมโครเวฟตรงที่สามารถเดินทางได้รอบทิศทาง ความถี่ของสัญญาณสูงดังนั้นจึงมี bandwidth กว้าง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง 100-400 Kbps และสามารถใช้ช่องสัญญาณหนึ่งสำหรับหลายสถานี เมื่อมีการชนกันของสัญญาณข้อมูลจะใช้วิธี CSMA (Carrier SenseMultiple Access)
ระยะทางการส่งได้ไกล 30 กิโลเมตร ถ้ามีเครื่องทวนสัญญาณจะส่งได้ไกลถึง 500 กิโลเมตร

ข้อดี
สามารถส่งข้อมูลได้แบบไร้สายและสร้างเครือข่ายได้กว้างไกล การติดตั้งไม่ยุ่งยากเนื่องจากใช้อุปกรณ์น้อย
ข้อเสีย
ความปลอดภัยของข้อมูลมีน้อยจึงควรมีการเข้ารหัสข้อมูล และคลื่นวิทยุอาจถูกรบกวนได้ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสภาพภูมิอากาศต่าง ๆ
วิทยุเซลลูลาร์ (Cellular radio)
มีชื่อเรียกอีกอย่างอื่น ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ
เป็นการใช้คลื่นวิทยุในการรับ-ส่งเสียงสนทนาหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์


Bluetooth


BLUETOOTH คือ ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset โทรศัพท์มือถือด้วย

ไว-ไฟ (Wi-Fi)
ไว-ไฟ (Wi-Fi) Wi-Fi หรือ Wireless Fidelity คือ เทคโนโลยีการเชื่อมคอมพิวเตอร์หรือ PDA ต่อเข้ากับเครือข่าย LAN (Local Area Network) โดยการใช้คลื่นวิทยุเป็นตัวส่งสัญญาณเพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูล ลักษณะของ wireless ไม่ใช่ wire line การเชื่อมต่อลักษณะนี้โดยมากในปัจจุบันจะใช้เทคโนโลยี Wireless LAN 802.11b ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด 11 Mbps ซึ่งนับว่าสูงมาก สูงกว่าการต่ออินเตอร์เน็ทตามบ้านแบบเทียบกันไม่


ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)
ไว-แมกซ์ ย่อมาจาก Worldwide InterOperability for Microwave Access เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย ระดับบรอดแบรนด์บนมาตรฐาน IEEE 802.16 โดยสามารถส่งข้อมูลกระจายสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยัง
หลายจุดได้พร้อมๆกัน